เป้าหมาย (Understanding Goal)

สามารถเลือกเล่นและออกแบบการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ของเล่นที่มีคุณค่าเหมาะสมกับช่วงวัยและพัฒนาการ รวมทั้งดูแลรักษาของเล่นได้อย่างเหมาะสม

week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถ วางแผน ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ รู้ถึงคุณค่าของของเล่น วิธีเก็บรักษาและเลือกเล่นของเล่นที่ทำจากไม้และวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมกับตัวเอง

Week
Input
Process
Output
Outcome







4
16 – 20
พ.ย. 58
โจทย์ : 
ไม้และวัสดุจากธรรมชาติ
คำถาม
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากไม้และวัสดุธรรมชาติให้มีคุณค่า มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นจากไม้และวัสดุธรรมชาติ
เครื่องมือคิด
-
 Chart ความรู้ เกี่ยวกับขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่น
-
 Round robin ขั้นตอนการประดิษฐ์ การเล่น ประโยชน์ที่ได้จากของเล่น วิธีการเก็บรักษา 
- Placemat สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำของเล่นจากไม้ วัสดุธรรมชาติ
-
  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
- ชักเย่อความคิด“เล่นกับธรรมชาติดีกว่าเล่นเกมคอมพิวเตอร์/มือถือ”
- คำถามกระตุ้นคิด

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
 - หนังสือ 
อินเตอร์เน็ต
ผู้ปกครอง (อาสา)
              
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนทำปี่ซังข้าว รวมทั้งให้นักเรียนดูรูปว่าวชนิดต่างๆ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับชนิดและการทำว่าว รวมทั้งการเล่นและการดูแลรักษา
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากไม้และวัสดุจากธรรมชาติ
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับของเล่นจากไม้ และของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำว่าวชนิดต่างๆ
ใช้:
-  นักเรียนเตรียมไม้สำหรับขึ้นโครงว่าวที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
- นักเรียนวางแผนการทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งการเตรียมอุปกรณ์และขั้นตอนที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่ตนเองสนใจ โดยออกแบบลงในกระดาษ
วันอังคาร
ใช้ : (กิจกรรมต่อจากวันจันทร์)
ลงมือประดิษฐ์ของเล่นจากไม้(ว่าว)และวัสดุจากธรรมชาติที่ตนเองสนใจ
- ทดลองเล่น ของเล่นจากไม้ (ว่าว)และวัสดุจากธรรมชาติที่ตนเองประดิษฐ์
วันพุธ
ชง
:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เล่นกับธรรมชาติดีกว่าเล่นเกมคอมพิวเตอร์/มือถือ” นักเรียนทำกิจกรรมชักเย่อความคิด
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับของเล่นจากไม้และวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ประโยชน์ (วิทยาศาสตร์ ,กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่)ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และวิธีแก้ไขปัญหาและพัฒนาของเล่นจากไม้และวัสดุจากธรรมชาตินั้นอย่างไร
ใช้:
สนทนาแลกเปลี่ยน และสรุปขั้นตอนการประดิษฐ์ การเล่น ประโยชน์และโทษที่ได้จากของเล่นไม้และวัสดุจากธรรมชาติ วิธีการดูแลรักษา ในรูปแบบของการ์ตูนช่อง และนำเสนอผลงานให้เพื่อนและครูในชั้นเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วันศุกร์
ชง:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวนกิจกรรมและการเรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เชื่อม:
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมของเล่นจากไม้ /วัสดุธรรมชาติ
ใช้:
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (การ์ตูนช่อง)
ภาระงาน
- ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับขั้นตอนการประดิษฐ์ การเล่น ประโยชน์ที่ได้จากของเล่น วิธีการดูแลรักษา
- ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ /ว่าว
-ชักเย่อความคิด “เล่นกับธรรมชาติดีกว่าเล่นเกมคอมพิวเตอร์/มือถือ”
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ว่าว
ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ(ปี่ซังข้าว /คอปเตอร์ไม้ไผ่/กำหมุน /รถล้อ ฯลฯ)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถ วางแผน ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ รู้ถึงคุณค่าของของเล่น วิธีเก็บรักษาและเลือกเล่นของเล่นที่ทำจากไม้และวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมกับตัวเอง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเราที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นอย่างเหมาะสม
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน (ทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ)
สร้างทางเลือกในการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำของเล่น เพื่อถ่ายทอดหรือสื่อสารได้เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สรุปสิ่งที่เรียนรู้ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
ออกแบบภาพวาดและรูปแบบของชาร์ตความรู้ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ  เพื่อการสรุปงานได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอระหว่างการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ ด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจและการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้ หรือแก้ปัญหาระหว่างการทำงาน
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดกระทำ เพื่อใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่เรียนรู้ หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
- กล้าคิดกล้าทำและมีความสร้างสรรค์เรียนรู้
มีความพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองจนสำเร็จ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้า สิ่งที่เรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
ตัวอย่างชิ้นงานและกิจกรรม

























1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่นจากไม้ของเล่นลอยลม และศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุและที่มาของของเล่น โดยมีผู้ปกครองร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุในการทำของเล่น แล้วร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นลอยลมได้ ซึ่งนักเรียนสามารถนำเสนอได้หลากหลายเช่นกระดาษ ไม้ไผ่ ถุงพลาสติก ฯลฯ เมื่อนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้วนักเรียนได้นำสิ่งที่ค้นคว้ามาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานว่าว ซึ่งผู้ปกครองมาร่วมเรียนรู้และแนะนำการทำว่าว เมื่อทำเสร็จแล้วนักเรียนได้นำไปเล่นและเมื่อเล่นแล้วนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งเล่น "นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการเล่นของเล่นลอยลม" พี่เมฆ: เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงว่าถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วงว่าวจะหลุดลอยออกไป, พี่โชค: เรียนรู้เรื่องแรงต้านลมที่ทำให้ว่าวลอยอยู่บนอากาศ...เวลามีลมว่าวจะลอยขึ้นและต้องรู้ทิศทางลมว่าลมอยู่ด้านไหนเราต้องวิ่งตรงข้ามกับลม, เรียนรู้เรื่องความสมดุล ถ้าปีกไม่เท่ากันว่าวก็ไม่ขึ้น เป็นต้น นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นรับฟังความคิดเห็นและมีความพยายามในการทำงาน สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหาเพราะเหตุใดว่าวไม่ขึ้น ต้องเพิ่มเติมหรือลดส่วนไหน นักเรียนหลายคนนำสิ่งที่เรียนรู้ไปต่อยอดทำว่าวของตนเองที่บ้านและนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟังว่าว่าวลอยลมได้เป็นอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ