เป้าหมาย (Understanding Goal)

สามารถเลือกเล่นและออกแบบการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ของเล่นที่มีคุณค่าเหมาะสมกับช่วงวัยและพัฒนาการ รวมทั้งดูแลรักษาของเล่นได้อย่างเหมาะสม

week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ :   เข้าใจสมบัติของวัสดุพื้นถิ่น สามารถนำมาใช้ในการทำของเล่นพื้นบ้านได้เหมาะสม รวมทั้งสามารถ วางแผน ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านที่สนใจ รู้ถึงคุณค่าของของเล่น วิธีเก็บรักษาและเลือกเล่นของเล่นพื้นบ้านที่เหมาะสมกับตัวเองและผู้อื่น


Week
Input
Process
Output
Outcome







7



7-11 ธ.ค.

58


***วันจันทร์หยุดชดเชยวันพ่อ

โจทย์ : 
วัสดุพื้นถิ่น
คำถาม
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุพื้นถิ่น(ของเล่นพื้นบ้าน)ให้มีคุณค่า มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นพื้นบ้าน
เครื่องมือคิด-  ชาร์ตความรู้ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน (ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้)
- Round robin ขั้นตอนการประดิษฐ์ การเล่น ประโยชน์ที่ได้จากของเล่น วิธีการเก็บรักษา ของเล่นพื้นบ้าน
-Show and Share ของเล่นจากพื้นบ้าน
Placemat คุณค่าของของเล่นพื้นบ้าน
-  Wall Thinking ชาร์ตความรู้ของเล่นพื้นบ้าน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้ - หนังสือ 
อินเตอร์เน็ต
ห้องสมุด    
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ผู้ปกครองอาสา              
วันจันทร์
ชง :
ครูนำล้อไม้มาให้นักเรียนสังเกตศึกษา แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากล้อไม้นี้ให้มีคุณค่า มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองอย่างไร”
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านแต่ละถิ่น โดยนักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มศึกษาแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันแล้วสรุปผ่าชาร์ตความรู้
เชื่อม :
- นักเรียนนำเสนอ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านแต่ละพื้นถิ่นและวัสดุพื้นบ้าน รวมทั้งวิธีการดูแลรักษาของเล่นพื้นบ้านที่ทำจากวัสดุพื้นถิ่น
*** การบ้าน : เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำของเล่นพื้นบ้าน
วันอังคาร
ชง :
-ครูให้นักเรียนดูของเล่น งูกินนิ้ว (ของเล่นสานจากไม้ไผ่)
-นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านเพิ่มเติม
-นักเรียนออกแบบของเล่นพื้นบ้านที่สนใจโดยครู ผู้ปกครองอาสาช่วยแนะนำการออกแบบและการใช้วัสดุในการทำของเล่น

เชื่อม:
นักเรียน ครู ผู้ปกครอง สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านที่สนใจ รวมทั้งวิธีการในการประดิษฐ์และการเล่นตามความเหมาะสม
 ใช้ :
- นักเรียนลงมือทำของเล่นพื้นบ้านตามที่ออกแบบ ทดลองเล่น ปรับแก้และพัฒนาชิ้นงาน
วันพุธ
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ของเล่นพื้นบ้านแต่ละพื้นถิ่นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร” “เพราะเหตุใดที่ทำให้การเล่นและของเล่นแต่ละพื้นถิ่นเหมือนหรือต่างกัน
-นักเรียนช่วยกันศึกษาค้นคว้าของเล่นพื้นบ้านที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้
เชื่อม:
นักเรียนและครูสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำของเล่นพื้นบ้าน รวมทั้งการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำของเล่นเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาผลงานให้สมบูรณ์มากขึ้น
ใช้:
-นักเรียนทำของพื้นบ้านรวมทั้งปรับปรุงพัฒนาของเล่นให้สมบูรณ์มากขึ้น สรุปสิ่งที่ทำเป็นชาร์ตความรู้ ***.ใช้เวลาว่างและนำกลับไปทำในเวลาว่างหลังเลิกเรียนเพิ่มเติม
วันศุกร์
ชง : 
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร รู้สึกอย่างไร จะสามารถนำไปใช้กับตนเองด้านอื่นๆได้อย่างไรบ้าง จะดีกว่านี้ถ้า...”
เชื่อม :
นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำของเล่นพื้นบ้าน “คุณค่าของของเล่นพื้นบ้าน” (Place mat)
ใช้:
นักเรียนสนทนา ทบทวน แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ เรื่องที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านแต่ละพื้นถิ่น
- ศึกษาค้นคว้า วิธีการทำของเล่นพื้นบ้านที่สนใจ รวมทั้งวิธีการเล่นและดูแลรักษาของเล่น
- วิเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้าน การเล่น ประโยชน์ที่ได้จากของเล่น วิธีการดูแลรักษาของเล่นพื้นบ้านที่ทำจากวัสดุพื้นถิ่นที่เหมาะสม
- ประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านแต่ละพื้นถิ่น
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน- ชาร์ตของเล่นพื้นบ้าน
-ของเล่นพื้นบ้าน (รองเท้ากะลา รถล้อ ลูกข่างไม้ ฯลฯ)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจสมบัติของวัสดุพื้นถิ่น สามารถนำมาใช้ในการทำของเล่นพื้นบ้านได้เหมาะสม รวมทั้งสามารถ วางแผน ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านที่สนใจ รู้ถึงคุณค่าของของเล่น วิธีเก็บรักษาและเลือกเล่นของเล่นพื้นบ้านที่เหมาะสมกับตัวเองและผู้อื่น
ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเราที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นอย่างเหมาะสม
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน (ทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ)
สร้างทางเลือกในการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำของเล่น เพื่อถ่ายทอดหรือสื่อสารได้เหมาะสมกับตนเอง
- ออกแบบและทำของเล่นพื้นบ้านจากวัสดุพื้นถิ่นด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สรุปสิ่งที่เรียนรู้ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
ออกแบบภาพวาดและรูปแบบของชาร์ตความรู้ของเล่นพื้นบ้าน  เพื่อการสรุปงานได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอระหว่างการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำของเล่นพื้นบ้านจากวัสดุพื้นถิ่น ด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจและการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้ หรือแก้ปัญหาระหว่างการทำงาน
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดกระทำ เพื่อใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่เรียนรู้ หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
กล้าคิดกล้าทำและมีความสร้างสรรค์เรียนรู้
มีความพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองจนสำเร็จ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้า สิ่งที่เรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย




ตัวอย่างชิ้นงานและกิจกรรม
















1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมที่นักเรียนนำวัสดุพื้นถิ่น เช่นไม้ไผ่ ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ต้นกล้วย ฯลฯ มาใช้ในการออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในพื้นถิ่น โดยมีผู้ปกครองอาสามาช่วยในการทำชิ้นงาน นักเรียนเข้าใจกระบวนการทำงาน สามารถออกแบบและทำของเล่นของตนเองได้ โดยมีผู้ปกครองอาสาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยแนะนำการทำของเล่น เช่น กำหมุน ใบพัดไม้ไผ่ รองเท้ากะลา ฯลฯ เมื่อทำแล้วนักเรียนสามารถเล่นและนำกลับไปต่อยอดการเล่นของตนเองที่บ้าน เช่น พี่ภูมิ : ครูครับผมทำบั้งโพละได้ครับรองเล่นแต่มันไม่ค่อยดังครับ ,พี่เซน : ผมทดสอบทำบั้งโพละอันเล็กได้ แต่มันไม่ดังครับ ,ผมเอาใบพัดไปที่บ้าน พ่อบอกว่าใบพัดมันต้องเบาครับมันถึงจะลอยสูง(ก่อนหน้านั้นใบพัดที่พี่ทำหนักที่ก้านใบพัดเพราะไม่ได้เหลาไม้) ผมเลยแก้ไขเอากระดาษมาพันครับตอนนี้มันเบาแล้วครับ , พี่เมฆ : ครูผมเหลาไม้ทำใบพัดนะครับ ทำเสร็จแล้วผมขอเอากลับไปเล่นก่อนได้ไหมครับฯลฯ
    เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันหยุดหลายวัน พี่ๆมีเวลาในการทำของเล่นและทำกิจกรรมที่โรงเรียนน้อย นักเรียนจึงนำของเล่นของตนเองกลับไปทำต่อที่บ้านเพิ่มเติม แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนที่โรงเรียน หลังจากที่ทุกคนได้ทำและทดลองเล่นแล้วครูให้นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม “ของเล่นแต่ละพื้นถิ่นของไทยมีอะไรบ้าง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร” นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลและสรุปนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆร่วมเรียนรู้

    ตอบลบ